Friday, November 6, 2015

สมุนไพรกระชายดำอบแห้ง ส่งออกไปต่างประเทศ

#ปลูกเอง #ขายเอง #ส่งออกทั้งหมด 

กระชายดำอบแห้งสวย คุณภาพส่งออกไปต่างประเทศเป็นสุดยอดยาสมุนไพรบำรุงกำลังที่เรายอมรับว่าสามารุเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  กระชายดำไวอาก้าประเทศไทย สรรพคุณเยอะกว่าโสมจีน

สนใจโทร 089-6951800 ไร่ทายาท
Line Id : tayatfarm

กระชายดำดำสดราคา 110 บาทต่อกิโลกรัม 
กระชายดำอบแห้ง 650 บาทต่อกิโลกรัม 

เราส่งออกกระชายดำอบแห้งไป เกาหลี ญี่ปุ่น มานาน 10 ปี 

กระชายดำ 
การชายดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora เป็นพืชในวงศ์ เดียวกับกระชาย ต่างกันตรงที่เหง้าของกระชายดำจะมีสีม่วงเข้มอมดำ บางที่เรียกว่า Black Ginger 
กระชายดำ เป็นสมุนไพรของไทยที่ใช้กันมานาน โดยมีสรรพคุณในด้านเสริมสมรรถภาพทางเพศ และเป็นยาอายุวัฒนะ ในสมัยโบราณจะใช้กระชายดำเป็นยาขับลม 
สารสำคัญในกระชายดำ มีสารฟลาโวนส์ 12 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการสลายตัวของเนื้อกระดูก ลดการเกิดโรคหัวใจ ต้านเบาหวาน ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน และยับยั้งมะเร็งรังไข่ โดยป้องกันการเกิดหลอดเลือดมาเลี้ยงเซลล์มะเร็ง 
งานวิจัยปัจจุบันพบว่า สารฟลาโวนส์ จากกระชายดำยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเตอเรส 5 ในกล้ามเนื้อเรียบขอบอวัยวะเพศชาย จึงช่วยในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นกลไกเดียวกันกับยาไวอะกร้า 
การทดลองในหนู โดยการให้หนูรับประทานสารสกัดจากกระชายดำ พบว่าเพิ่มการไหลของโลหิตไปเลี้ยงที่อัณฑะ โดยไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ จึงยืนยันสรรพคุณของกระชายดำ ที่ใช้กันมาแต่โบราณ 
การวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่าสารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทำลายเซลล์มะเร็งหลายชนิด และกระตุ้นกำหนัด (กระตุ้นความต้องการทางเพศ) ได้ทำการทดสอบความเป็นพิษ และรับรองแล้วว่ามีความปลอดภัย กระชายดำ จึงเป็นสมุนไพรที่ต้านความเสื่อมต่างๆ เช่น ความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ ความเสื่อมของสมอง ความเสื่อมในระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งส่งผลต่อหัวใจ และสมรรถภาพทางเพศ จึงต้านความชรา


แปลงปลูกกระชายดำ
กระชายดำมีสรรพคุณ 
1. กระชายดำใช้บำรุงกำลัง 
2. แก้ปวดเมื่อย และแก้อาการเหนื่อยล้า 
3. กระชายดำช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 
4. ช่วยขับลม 
5. เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) 
6. แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง 
7. กระชายดำขับปัสสาวะ 
8. หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน 
9. ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก 
10. ต้มดื่มแก้โรคตา 
11. กระตุ้นระบบประสาท 
12. รักษาสมดุลความดันโลหิต 
13. กระชายดำช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ 
14. โรคเก๊าท์ 
15. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร 
16. รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ 
17. แก้โรคบิด 
18. รักษาผู้ป่วยเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี 
ปริมาณน้ำไม่เกิน 10% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 2% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่น้อยกว่า 8% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่า 17% w/w (THP III) 
ต้นกระชายดำสด

ตัวอย่างการใช้กระชายดำ 
การใช้กระชายดำเป็นยาแก้ปวดท้อง และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย 
ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 
ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน 

ข้อควรระวัง 
การรับประทานติดต่อกันนาน อาจทำให้เหงือกร่น และห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ และในเด็ก การรับประทานในขนาดสูง ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ 

ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์
สารสกัดกระชายดำด้วยเอทานอล โดยการกรอกสารเข้าสายในกระเพาะอาหาร พบว่าสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศผู้ของหนูขาวและสุนัขได้ นอกจากนี้การป้อนสารสกัดกระชายดำ ยังมีผลเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ และระดับ testosterone แต่ไม่ทำให้พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง สำหรับหนูขาวซึ่งได้รับสารสกัดแอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงขนาด 1,000 มก./กก. น้ำหนักตัว/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สามารถป้องกันภาวะการผสมไข่ไม่ติด แต่สารสกัดขนาดดังกล่าวมีผลทำให้ตับโตขึ้น 

กระชายดำอบแห้ง 1 กิโลกรัม
การออกฤทธิ์เฉพาะ 
1. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ 
พบคุณสมบัติของสาร 5,7,4- trimethoxyflavone และสาร 5,7,3,4- tetramethoxyflavone ออกฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium Falciparum (โรคมาเลเรีย), เชื้อ Canadida albicans และเชื้อ Mycobacterium และจากการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากกระชายดำ พบว่า สามารถต้านการเติบโตของเชื้อโรค S. aureus ได้ดี 
2. พิษต่อเซลล์มะเร็ง 
การใช้สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์จากกระชายดำที่มีต่อเซลล์มะเร็งไม่พบสารใดที่ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งได้ 
3. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง 
การให้สารสกัดจากกระชายดำแก่หนูทดลอง พบว่า หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ของหนูทดลองมีการขยายตัว รวมถึงช่วยลดการหดเกร็งของลำไส้ส่วนปลาย (ileaum) และช่วยยังยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้ 
4. ฤทธิ์ต้านอักเสบ 
สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบไกล้เคียงกับยามาตรฐานหลายชนิด เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน, อินโดเมธาซิน, แอสไพริน และเพรดนิโซโลน และออกฤทธิ์ต้านการอักเสบชนิดเฉียบพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบเรื้อรัง นอกจากนั้น ยังพบว่าสามารถยับยั้งอาการอุ้งเท้าบวมของหนูทดลองที่ได้รับสารสารคาราจีแนน และเคโอลินได้ดี 
ฤทธิ์สารสกัดกระชายดำช่วยลดการอักเสบของโรคข้อเข่าเสื่อม จากการทดลอง พบว่า สารสกัดจากเอทานอล และเฮกเซนสามารถยับยั้งการเกิดไนตริกออกไซด์ (NO) ในเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโครฟาจได้ ซึ่งสามารถชี้บ่งถึงประสิทธิภาพสารสกัดกระชายดำในการยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ และเนื้อเยื่อได้ 
ส่งกระชายดำอบแห้งให้ลูกค้า
พันธุ์กระชายดำ 
พันธุ์กระชายดำ จำแนกตามสีที่พบบริเวณท้องใบ ก้านใบ ขอบใบ และสีเนื้อหัว ดังนี้ 
1. พันธุ์ใบแดง 
เป็นกระชายดำที่นิยมมากที่สุด มีลักษณะเหมือนกับกระชายดำทั่วไป แต่มีสีของใบที่เด่นสวยงาม คือ ด้านหลังใบมีสีแดงอมม่วง ด้านหน้าใบมีสีเขียว ขอบใบมีเส้นสีน้ำตาลอมแดง ลำต้น และก้านใบมีสีแดงอมม่วงเข้ม หัวมีลักษณะกลม สีเนื้อหัวเป็นสีม่วงเข้มจนถึงดำเหมือนสีลูกหว้า ทั้งนี้ ความเข้มของสีใบและสีเนื้อหัวจะขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ และการดูแลรักษา เป็นพันธุ์ที่มีราคาแพงกว่าพันธุ์อื่นๆ ชาวบ้านมักเรียกว่า “สายพันธุ์ตัวผู้” 

2. พันธุ์ใบเขียว 
เป็นกระชายดำที่ได้รับความนิยมเหมือนกับพันธุ์ใบแดง พันธุ์นี้มีความแตกต่างกับพันธุ์ใบแดงที่สีใบจะเป็นสีเขียวนวลทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ลำต้น และกาบใบมีสีเขียวอย่างเดียว ก้านดอกมีสีเขียว กลีบดอกมีสีม่วงสวยงาม มีเส้นรอบกลีบดอกเป็นสีขาว เนื้อมีสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้ม ลักษณะหัวกลมรีน้อยกว่าพันธุ์ใบแดง และราคาจะถูกกว่า ชาวบ้านมักเรียก “พันธุ์ตัวเมีย” 

3. พันธุ์กระชายขาวหรือว่านเพชรกลับ 
เป็นพันธุ์ที่พบมากตามป่า ลักษณะต่างจากกระชายดำ คือ มีลักษณะลำต้นทอดสูงเหมือนต้นขิง ความสูงประมาณ 80-90 เซนติเมตร กาบใบ และใบขึ้นสลับด้านข้างลำต้น ก้าบใบ และใบมีสีเขียว ด้านหลังใบมีสีม่วงเข้ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกด้านนอกมีสีขาวด้านในมีสีแดงแกมม่วง 

หัวมีลักษณะเหมือนกระชายดำทั่วไป แต่จำนวนแง่งต่อเหง้าน้อยกว่า สีเนื้อหัวมีสีขาว เป็นที่มาของชื่อ “กระชายขาว” หัวมีกลิ่น และรสชาติยังเหมือนกระชายดำ และมีสรรพคุณเหมือนกระชายดำทุกประการ 

ตามความเชื่อของคนชนบท หากนำหัวว่านกระชายขาวติดตัวเวลาเดินป่า ว่านจะช่วยไม่ให้หลงป่า และนำทางกลับ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ว่านเพชรกลับ” หรือ “ว่านชักกลับ” จากการสำรวจพบมากที่ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 

4. พันธุ์กระชายหอม/ว่านหอม/กระชายเหลือง 
เป็นพันธุ์ที่หายากในปัจจุบัน ไม่พบการปลูก และขายพันธุ์ให้เห็น ต้องเสาะแสวหาตามป่าลึก จึงทำให้มีราคาสูงกว่ากระชายดำพันธุ์ใบแดง และพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 3-5 เท่าตัว เนื่องจากหายาก และเชื่อว่าสรรพคุณเหนือกว่ากระชายดำพันธุ์อื่นๆ 

กระชายหอมมีลักษณะต้น ใบ และราก เหมือนกับกระชายดำพันธุ์ใบเขียวทุกประการ แต่สีเนื้อหัวจะมีสีขาวอมเหลืองอ่อน ๆ และมีเอกลักษณ์ที่มีกลิ่นหอม ชวนรับประทานมากกว่ากระชายดำ 

กระชายดำ (เนื้อดำแท้) กับ กระชายม่วง (เนื้อสีดำแกมม่วง) 
กระชายดำ (ดำแท้) จะมีใบเขียวเกือบเข้ม และทรงใบเรียวยาวมากกว่ากระชายม่วง ใต้ใบ และขอบใบมีสีม่วงแกมอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใบกระชายม่วงมีสีเขียวอ่อน ปลายค่อนข้างมน ขอบใบ และใต้ใบมีสีม่วงแกมเล็กน้อยหรือไม่มีเลย 

การปลูกกระชายดำ 
ฤดูปลูก 
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 

การเตรียมหัวกระชายดำสำหรับปลูก 
หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้บิ(หัก)ออกมาเป็นแง่ง ๆ ถ้าแง่งเล็กก็ 2-3 แง่ง ถ้า แง่งใหญ่สมบูรณ์ก็แค่แง่งเดียวก็พอ เพราะเมื่อกระชายดำโตขึ้น กระชายดำก็จะแตกหน่อ และเกิดหัวกระชายดำหัวใหม่ขึ้นมาแทน และจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด ก่อนนำไปปลูก ควรทารอยแผลของแง่งกระชายดำที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราก็ได้ แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้ง แล้วจึงนำไปปลูก(น้ำยากันเชื้อรามีจำหน่ายตามร้านเคมีภัณฑ์การเกษตรทั่วไป ขวดเล็กๆราคาไม่ถึงร้อยบาทก็มี) 

การปลูกลงในกระถาง 
ควรใช้กระถางที่มีขนาดกลาง -ใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายหัวหรือเหง้า ใส่วัสดุปลูกให้มาก ๆ ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของกระถาง (ปุ๋ยคอก 1 ส่วน/ดิน 2 ส่วน) จะทำให้ได้หัวที่มีคุณภาพและมีปริมาณหัวต่อต้นมาก การปลูกในกระถางควรใช้หัวหรือเหง้า ประมาณ 3-5 หัว (แง่ง) แล้วแต่ขนาดของกระถาง 

การปลูกลงแปลง 
ต้องเตรียมแปลงปลูก โดยการพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นาน 5-7 วัน เพื่อปรับสภาพดิน ยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2-3 หัว (แง่ง) ต่อหลุม แล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม 

การปลูกในไร่ (กรณีปลูกปริมาณมาก ๆ) 
การเตรียมดิน 
ควรไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูก ระหว่างต้นประมาณ 25-30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200 - 400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5-10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160-200 กก. 

การดูแลรักษา 
เมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ (ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาว และสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป) และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก 

การเก็บเกี่ยว 
เมื่อกระชายดำอายุได้ 10-12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือ ระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาส ได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไป จึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดี กระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือ จะได้รับผลผลิตประมาณ 650-900 กก./ไร่ 

กระชายดำหัวแห้ง 
กรรมวิธีการผลิต: 
การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้ง ก็โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้าง ทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่น แล้วนำเข้าตู้อบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูง จนแห้งได้ ที่แล้ว จึงนำมา เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้ จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน 

การรับประทาน: 
หากไม่ใช่คอเหล้าที่มักนิยมนำไปดอง กับเหล้าขาวก็มักหั่นเป็น ชิ้น นำไปตากแห้งแล้วมาต้มกับน้ำรับประทาน บางตำราบอกให้นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งสด ไปดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วันนำมาดื่มก่อนนอน อาจจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้ 

รายละเอียดวิธีใช้: 
หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบน ผสมน้ำผึ้งเพื่อรสชาดที่ดีขึ้นได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. ( 1 เป็ก) 
หัวแห้ง ดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1 
หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5 

กระชายดำแบบชาชง 
กรรมวิธีการผลิต: 
นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซอง กระชายดำแบบชาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้น 
ตัวอย่างกระชายดำอบแห้ง

วิธีใช้: 
กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) 

ข้อแนะนำ: 
หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ตามชอบใจ 

ลูกอมกระชายดำ 
ศูนย์การศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลยร่วมกับกลุ่มโซนศรีสองรัก ได้จัดทำ ผลิตภัณฑ์ ลูกอมสมุนไพร เพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ นาแห้ว จ. เลย 

ส่วนประกอบ: 
1.กระชายดำ 2.นมสด 3.เนยอย่างดี 4.น้ำตาลทราย 5.แบะแซ 

ไวน์กระชายดำ 
ตามความหมายในภาษาอังกฤษนั้น ไวน์ (wine) หมายถึง "เหล้าองุ่น"เท่านั้น ตามกระแสนิยม สำหรับคนไทยนั้น คำว่า "ไวน์" หมายถึง ผลไม้ หรือสมุนไพรที่นำมาหมักแล้วได้แอลกอฮอล์ ไม่เกิน 15 ดีกรี ซึ่งกรรมวิธีผลิตก็ทำเช่นเดียวกับไวน์ในต่างประเทศ แต่ในกฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติสุราฯ นั้นเรียกว่า "สุราแช่" ดังนั้น อนุโลมที่จะเรียกผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาหมักว่า "ไวน์" และต่อท้ายด้วยชื่อผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาทำเป็นวัตถุดิบนั้น เช่น ไวน์สัปปะรด ไวน์ลูกยอ ไวน์ลูกหม่อน เพราะไม่สามารถที่หาคำใดมาเรียก ได้เหมาะสม และเข้าใจได้ง่าย 

สนใจติดต่อไร่ทายาท 0896951800 
line ID: tayatfarm

ตัวอย่างกระชายดำสด

สมุนไพรกระชายดำช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ข้อมูลทั่วไปกระชายดำ

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia Pafiflora
ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท

ใบ: เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น

ดอก: จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรมีสีเหลือง

การขยายพันธุ์: ใช้วิธีการแบ่งเหง้า ฤดูกาลขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งปี แต่ถ้าต้องการผลิตหัวให้มีคุณภาพ ต้องปลูกขยายพันธุ์ตามฤดูกาล ช่วงประมาณ เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม และ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ เดือน ธันวาคม ถึง มกราคม กระชายดำ ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น

กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและสามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ซึ่งชายไทยที่ เคยบริโภคต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เด็ดจริงๆ" กระชายดำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี
ประวัติ: การปลูกกระชายดำที่จังหวัดเลยนั้น สายพันธุ์ ต้นกำเนิดมาจาก ชาวเขาเผ่าม้ง ที่มาตั้ง ถิ่นฐาน ตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่าง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และรอยต่อกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมุนไพรกระชายดำ นี้ ชาวเขาเผ่าม้งหวงแหนมาก เพราะตระหนักดีในเรื่องของสรรพคุณ เพื่อไม่ให้กระชายดำแพร่พันธุ์มาก เวลานำมาขายให้คนไทยพื้นราบ จะนำไปนึ่งให้หัวกระชายดำตายเสียก่อน เมื่อนำมาปลูก จึงไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ต่อมา คนไทยพื้นราบ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ติดต่อค้าขายกับชาวเขาเผ่าม้ง จึงได้แอบนำติดตัวและมาปลูกขยายพันธุ์ ปัจจุบัน ที่อำเภอนาแห้วเป็นแหล่งปลูกกระชายดำ แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ






สรรพคุณ: ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิด โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ สำหรับสุภาพสตรีทานแล้ว จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติ กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน,โรคหัวใจ อื่น ๆ
  • บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
  • กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
  • บำรุงกำลัง
  • เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
  • ขับลม ขับปัสสาวะ
  • แก้โรคกระเพาะอาหาร
  • แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
  • บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ